เปิดเคล็ดลับ 13 ข้อ ที่ทำให้หุ้น IPO เหนือจอง

13 มกราคม 2568

หุ้นไอพีโอที่ระดมทุนและเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง SET และ mai เมื่อเข้ามาเทรดในวันแรกในตอนเปิดตลาดฯ มีอยู่สองทางคือ 1.ยืนเหนือราคาจอง และ 2.ต่ำกว่าจอง ..ถ้าเป็นในเคสแรกก็แฮปปี้หน้าชื่นตาบาน บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข แต่ถ้าเป็นเคสหลัง “ราคาต่ำจอง” ทรงนี้สงสารทุกฝ่ายเลยนะทุกปาร์ตี้ที่ร่วมอยู่ในกิจกรรมนี้ไม่ว่าจะเป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน อันเดอร์ไรท์ ผู้บริหารบริษัท พนักงาน รวมไปถึงผู้ถือหุ้นทุกคน!!! ตอนนี้ ไม่รู้ว่าจะทำหน้าตาอย่างไร-ทำตัวอย่างไรดี บรรยากาศดูกระอัก-กระอ่วนมาก

จากประสบการณ์ที่เคยทำงานในวงการนี้มามากกว่า 20 ปี ลองนับๆ ดูเอาเองว่าปัจจัยที่ส่งผลกับราคาหุ้นไอพีโอ ที่เป็นเครื่องชี้ชะตาว่าจะเปิดเหนือจอง-หรือ-ต่ำจอง มีราว 13 ปัจจัยด้วยกัน ดังนี้

  1. ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท-อยู่ในอุตสาหกรรมดาวรุ่งหรือดาวร่วง
  2. ความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงิน-มีภาระหนี้สินมากน้อยเพียงใด
  3. ประวัติของผลประกอบการที่ผ่านมา(การเติบโตของรายได้+กำไร) และศักยภาพการทำกำไรในอนาคต
  4. โครงสร้างผู้ถือหุ้น เป็นนักลงทุนสถาบันหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือเพียงใด
  5. แผนการระดมทุนนำไปขยายธุรกิจอย่างไร
  6. การเลือกที่ปรึกษาทางการเงินและอันเดอร์ไรท์
  7. จำนวนหุ้นที่จะนำออกมาเสนอขายคิดเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นของทั้งหมด
  8. หุ้นที่เสนอขายเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่ทั้งหมดหรือไม่? หรือได้นำหุ้นเก่าจากเจ้าของเดิมมาขายผสมด้วย
  9. การกำหนดราคาขายหุ้นไอพีโอ
  10. กลยุทธ์ในการกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนกลุ่มต่างๆ อาทิ สถาบัน รายใหญ่ รายย่อย และ กรรมการ-พนักงาน เป็นต้น
  11. การเลือกประเด็นเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมาย
  12. การโปรโมทข้อมูลบริษัท-ผู้บริหารให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
  13. สถานการณ์ของตลาดหุ้นในห้วงเวลาดังกล่าว

ข้อ 1-5 เป็นปัจจัยที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท ข้อ 6-10 เป็นปัจจัยที่อยู่ภายใต้การดูแลของที่ปรึกษาทางการเงินและอันเดอร์ไรท์ ส่วนข้อ 11-12 เป็นการทำหน้าที่ร่วมกันระหว่างผู้บริหารบริษัทและที่ปรึกษาฯ+อันเดอร์ไรท์ และสุดท้ายข้อ 13 เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

ถ้าบริษัทใดที่สามารถทำได้ดีหมดทั้ง 12 ข้อ +ข้อ 13 จังหวะตลาดหุ้นคึกคักพอดี เชื่อว่าจะทำให้วันที่หุ้นเข้าซื้อขายวันแรกสามารถยืนเหนือราคาจองได้ ทุกคนที่อยู่ในงานก็จะมีความสุขถ้วนหน้า

แต่ในโลกของความเป็นจริง “บางอย่างเลือกได้-บางอย่างเลือกไม่ได้” อาทิ ดำเนินธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกมองว่าเป็น Sunset หรือการเข้าตลาดหุ้นเพราะต้องนำเงินไปชำระหนี้ หรือมีเงื่อนไขก่อนยื่นเข้าตลาดฯจะต้องนำหุ้นเก่าจากเจ้าของเดิมมาขายผสมด้วยกับหุ้นเพิ่มทุนใหม่ด้วย

ด้วยปัจจัยที่ว่ามานี้สามารถอธิบาย เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงกับกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายได้ ด้วยเพราะว่าสารตั้งต้นก่อนเข้ายื่นเข้าตลาดหุ้นนั่นก็คือบริษัทที่ยื่นมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพที่จะเข้าไปได้ ไม่ใช่แค่จัดตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วใครอยากเข้าก็ทำได้ง่ายๆ แบบนั้นไม่ใช่เลย เพราะ ตลท.มีกฎที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าบริษัทใดจะเข้าระดมทุนและจดทะเบียนเป็นบริษัทใน SET หรือ mai ดังนี้

เล่ามาซะยาวตั้งแต่ต้นเรื่องจนถึงตอนนี้..จะบอกว่าทุกเรื่องมีทางแก้ไขหรือมีทางออกเสมอ โดยข้อ 11 และ 12 (11.การเลือกประเด็นเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมาย และ 12.การโปรโมทข้อมูลบริษัท-ผู้บริหารให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย) คือ กุญแจเปิดประตูสู่การหาทางออก และช่วยแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งรวมๆ ทางเราเรียกกันว่างาน Investor Relation หรือ “นักลงทุนสัมพันธ์” ที่องค์กรของเรา “IR Network” มีความถนัดและเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง ถ้าสนใจอยากสอบถามเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน Investor Relation ติดต่อมานะคะ..บริษัทของเรายินดีให้คำปรึกษากับทุกท่านค่ะ